top of page

ประวัติวัดพิชัยสงคราม

ประวัติเดิม

 เมืองสมุทรปราการสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าทรงธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาในราวปี พ.ศ.2162-2163 สถานที่สร้างเมืองอยู่ทางฝั่งขวา ของแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้คลองบางปลากด ในสมัยนั้นชาวฮอลันดาเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ต่อมาการค้าได้หยุดชะงักไปชั่วคราว ต่อมาเมืองสมุทรปราการมีชื่อปรากฏในราชกฤษฎีกา ซึ่งตราขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2176ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

  วัดพิชัยสงคราม เป็นวัดที่เก่าแก่มาแต่โบราณสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราว พ.ศ.2253 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสละครองสิริราชสมบัติ(พ.ศ.2251-2275)ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัดนี้แต่เดิมมีชื่อรียกเป็นทางการว่า วัดโพหรือ วัดโพธิ์ ส่วนชื่อวัดพิชัยสงครามนั้นมาเปลี่ยนในสมัยกรุงรัตนโกสิทร์ตอนต้น 

ชาวบ้านทั่วไปมักจะเรียกชื่อวัดพิชัยสงคราว่า”วัดนอก”ทั้งนี้เนื่องจากว่าในสมัยก่อนนั้นวัดนี้ตั้งอยู่นอกตัวเมือง ส่วนในตัวเมืองในขณะนั้นมีวัดอีกวัดหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2170 ชาวบ้านเรียกว่า”วัดใน”ปัจจุบันคือ วัดในสองวิหาร ในเวลาต่อมา ชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างวัดใหม่ขึ้นมาอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่กลางวัดในกับวัดนอก ปรากฏตามหลักฐานของตำนานวัดกลางวิหาร ว่า “ที่สวนจากในคลองบางฆ้องทั้งสองฝั่งนี้เป็นทำเลเหมาะ เพราะหมู่บ้านข้างในก็มีวัดในแล้ว หมู่บ้านข้างนอกก็มีวัดโพอยู่แล้ว(วัดนอก)ส่วนตำบลย่านกลางไม่มีวัด ชาวบ้านจึงมีการก่อสร้างวัดใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2299(จุลศักราช1118)” วัดใหม่ที่สร้างขึ้นเรียกว่า วัดตะโกทองต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดกลางเพราะวัดนี้ตั้งอยู่กลางระหว่างวัดในกับวัดนอก ฉะนั้นวัดทั้งสามจึงมีประวัดเกี่ยวเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา
 
สภาพตัวเมืองสมุทรปราการได้มีการเปลี่ยนแปลงไป มีการย้ายตัวเมืองจากที่เดิมไปสร้างตัวเมืองใหม่  จากสภาพตัวเมือองที่ท่านได้เห็นในขณะนี้ตัวเมืองสมุทรปราการได้มีการย้ายอย่างน้อยสองครั้ง ถึงแม้สภาพตัวเมืองจะเปลี่ยนไปแต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกชื่อวัดทั้งสามเหมือนเดิม และชื่อ วัดนอก ยังคงเรียกจนติดปากมาถึงปัจจุบันนี้ 

ประวัติการก่อสร้างอุโบสถวัดพิชัยสงคราม

 

  เมื่อต้นปี 2533 คณะพัฒนาวัดมีความเห็นว่าอุโบสถของวัดซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ ปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อเวลา 200 ปี ขณะนั้นอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะพังลงมาอันก็ให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินจึงแจ้งเรื่องนี้ให้ทางจังหวัดพิจารณา

  ทางจังหวัดโดย นาย วิระ รอดเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้มีหนังสือที่ สป. 0030/7499 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2533 ถึงกรมศิลปากร ความว่า จังหวัดได้รับแจ้งจากอำเภอเมืองสมุทรปราการว่า วัดพิชัยสงคราม จะรื้อถอนอุโบสถซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เพื่อก่อสร้างอุโบสถ หลังใหม่แทนที่เดิม หากว่าทางกรมศิลปากรเห็นว่าควรจะบูรณะไว้ทางวัดก็ไม่ขัดข้องและของบประมาณในการบูรณปฏิสังขรณ์ด้วย

 

   คณะทำงานได้เดินทางมาศึกษารายละเอียดและหาข้อมูล โดยได้เดินทางมาสำรวจที่วัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2533 และได้เดินทางมาสำรวจอีกหลายครั้ง จากการสำรวจของเจ้าหน้าได้สำรวจพบข้อเท็จจริงและบันทึกเสนอต่อที่ประชุมมีดังนี้

  • เมื่อปีพ.ศ.2531 จังหวัดได้เคยนำเรื่องเสนอต่อกรมศิลปากรดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดพิชัยสงครามไว้เป็นโบราณสถานของชาติ

  • กรมศิลปากรโดยกองโบราณคดีได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจข้อมูลแล้วครั้งหนึ่งและได้บันทึกข้อมูลไว้ว่าวัดพิชัยสงครามเป็นวัดมีมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2253 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมเรียกว่า วัดโพ หรือ วัดโพธิ์ ชาวบ้านมักจะเรียกว่า วัดนอกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเสด็จไปเมืองสมุทรปราการเพื่อทอดพระเนตรการสร้างป้อมปราการต่างๆ และการสร้างเมืองพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นวัดที่มีความสวยงามวัดหนึ่งของสมุทรปราการ ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก พระองค์จึงโปรดเกล้าให้พระยาพิชัยสงคราม(เพ็ชร์) เป็นแม่กองมาบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อเสร็จแล้วพระองค์เสด็จมาทอดผ้าพระกฐินที่วัดนี้ในปี พ.ศ.2366 และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเสด็จมาทอดกฐิน ณ อารามนี้ด้วยลักษณะทางศิลปกรรม อุโบสถหลังนี้เป็นอาคารทรงไทยศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย กว้าง9เมตร ยาว28เมตร กำแพงก่ออิฐฉาบปูนหลังคากระเบื้องเผาเคลือบสีมีช่อฟ้าใบระกาปิดทองประดับกระจก ด้านหน้าทำเป็นมุขประเจิด หน้าบ้านทั้งสองด้านทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายกนกเปรียวประดับกระจกซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง และบัวหัวเสา เป็นปูนปั้น โดยรอบอุโบสถเป็นกำแพงแก้วและใบเสมา เจดีย์ รูปทรงศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ก่ออิฐฉาบปูนองค์พระระฆังประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ ปัจจุบันทั้งอุโบสถและเจดีย์สภาพชำรุดทรุดโทรม พระอุโบสถมีรอยของการซ่อมแซมต่อเติม ซึ่งผิดไปจากรูปทรงเดิม ปัจจุบันใช้ประกอบพิธีกรรม

  • เจ้าอาวาทวัดพิชัยสงครามได้แจ้งว่า หากกรมศิลปากรเห็นควรอนุรักษ์อุโบสถและเจดีย์ไว้วัดก็ไม่ขัดข้องยินดีปฏิบัติตาม และทางวัดพอจะดำเนินการหางบประมาณมาดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ได้แต่กรมศิลปากรควรจะจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือด้วยบ้างและคณะทำงานได้บันทึกข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมมีดังนี้

  • กรมศิลปากรควรจะขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดพิชัยสงคราม เนื่องด้วยมีคุณค่าทางศิลปกรรมของพระอุโบสถและเจดีย์ประกอบโดย ประวัติความสำคัญของวัดที่มีตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย

  • กรมศิลปากรควรจะส่งคณะช่างไปดำเนินการสำรวจและจัดทำรูปแบบการบูรณะอุโบสถซุ้มพัทธสีมา และองค์เจดีย์รวมถึงจัดสภาพภูมิทัศน์ให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการบูรณะต่อไป

  • กรมศิลปากรควรจะแจ้งกรมศาสนาถวายความดีความชอบในรูปการพัฒนาแก่เจ้าอาวาทที่ช่วยอนุรักษ์ปูชนียสถานและโบราณสถานสำคัญแห่งชาติ มีใช้พิจารราเฉพาะการพัฒนาในการก่อสร้างอาคารใหม่เท่านั้น คณะกรรมการฯ ได้ประชุมพิจารณา เมื่อวันที่8กรกฎาคม 2534 ให้มีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน       

 *จากการตรวจสอบบันทึกของกรมศิลปากรพบว่า อุโบสถหลังนี้ได้มีการบูรณะซ่อมแซมประมาณ 3 ครั้งมาแล้ว ครั้งแรกปูกระเบื้องและผนังได้หน้าต่างลงมา ครั้งที่2 ต่อพาไลด้านหลังอุโบสถ สุดท้ายเจาะหน้าต่างด้านข้างพระประธาน ด้านละ2ช่อง(เดิมเป็นผนังทึบ) ความเห็นของเจ้าหน้าที่คณะสำรวจเชื่อว่าอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชการที่2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เพราะรูปทรงสถาปัตยกรรมเป็นแบบสมัยรัตนโกสินทร์แต่เลียนแบบศิลปะสมัยอยุธยาภายหลังจากทราบมติของที่ประชุม คณะกรรมการควบคุมการอนุรักษ์โบราณสถาน เจ้าหน้าที่ของกรมศาสนาได้เดินทางมาสำรวจสถานที่ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ เจ้าหน้าที่กรมศาสนาเห็นว่าบริเวณที่ดินซึ่งอยู่ด้านหลังของอุโบสถ เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัด เห็นสมควรจะต้องพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ได้ปรึกษาหารือกับวัดและวัดเห็นชอบด้วย วัดจึงได้แจ้งให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้น ซึ่งอยู่หลายสิบรายรับทราบ

 

 *บุคคลเหล่านี้เมื่อทราบวัตถุประสงค์ของวัดที่ต้องกรขอสร้างอุโบสถหลังใหม่ต่างก็ให้ความร่วมมือด้วยดี ยินดีขนย้ายของไปโดยขอเวลาการขนย้ายประมาณ1-2ปี วัดตกลงให้เวลาขนย้ายตามที่ขอ ในที่สุดทุกคนก็ยอมขนย้ายออกไปโดยสันติวิธีซึ่งใช้เวลาประมาณ2ปีเศษอุโบสถหลังใหม่นี้กรมศาสนา โดย นายสมพงศ์ รัชโน ผู้อำนวยการกองพระพุทธศาสนาสถาน และนายดิลก ตีระวณิช สถาปนิก เป็นผู้ช่วยร่วมการออกแบบลักษณะเป็นแบบจัตุรมุข ขนาดว้าง29.30เมตร ยาว34.30เมตร พื้นยกสูง1เมตร ตัวอาคารสูง19 เมตร โครงสร้างหลังคาและฝ้าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องกาบลายสุโขทัย ยอดหลังคามีเจดีย์ซึ่งจำลองมาจากยอดพระสมุทรเจดีย์ สูง9เมตร นายประสิทธิ์ แสงศศิธร เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงบประมาณ30ล้านบาท เริ่มลงมือทำการปรับพื้นดินในราวเดือนพฤศจิกายน2538 และลงมือทำการตอกเสาเข็มในวันอังคารที่5ธันวาคม2538 โดยตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

  วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังนี้ เนื่องจากในปี2539เป็นปีแห่งมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปี พระมหาวิสุทธิ์มหาวิโร เจ้าอาวาทและคณะอำเภอเมืองสมุทรปราการพร้อมด้วยพระสงฆ์ ข้าราชการพ่อค้าประชาชนชาวสมุทรปราการ มีความพร้อมใจกันสร้างพระอุโบสถหลังนี้เพื่อถวายเป็นสักการะแด่องค์พระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นมิ่งขวัญของปวงประชาชนชาวไทย

bottom of page